วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

Infographic กลยุทธ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

Infographic กลยุทธ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


คำอธิบาย
1. Facebook,Fanpage
    ทำเป็นเฟจให้คนที่สนใจเข้ามาติดตามเฟจ เพื่อดูสินค้าที่ทางร้านได้อัฟลง และสามารถสั่งซื้อได้เลย
2. Webbord
     นำมาทำเป็นกระดานสนทนาสำหรับลูกค้าที่อาจจะมีความไม่เข้าใจในตัวสินค้า  หรือต้องการสอบถามสินค้าของทางร้าน
3.Instagram
     ใช้อัพภาพสินค้าที่ที่ขาย  เพราะในปัจจุบันนี้ Instagram นั้นค่อนข้างจะเป็นแอฟที่ได้รับความนิยมอยู่มาก
4. Application 
    ทางร้านจัดทำ Application เพื่อให้ลูกค้าสามารถ ดาวน์โหลด App ลงบนมือถือได้ เพื่อใช้ในการดูสินค้า หรือสั่งสินค้า
5. Website
   เป็นช่องทางที่ 2 สำหรับการติดต่อซื้อขายเพราะในสมัยนี้หลายๆ คนมีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างมาก Website จะมีการลงรูปสินค้า  รายละเอียดของสินค้า และให้ลูกค้าสามารถสอบถามรายละเอียดได้โดยไม่ต้องเดินทางมาที่ร้าน
6. Messenger
   ส่งข้อความระหว่างทางร้านกับลูกค้า
7. Promotion 
   การจัดโปรโมชันจะช่วยดึงให้ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้ามากขึ้น เพราะไม่ว่าอย่างไรหลายๆ คนก็อยากจะได้สินค้าราคาถูกกันทั้งนั้น
8. Cartoon
   นำการ์ตูนมาเป็นตัวแนะนำสินค้า ซึ่งการ์ตูนก็น่าจะสามารถดึงดูดความสนใจจากลุกค้าได้มากขึ้น เพราะการ์ตูนสามารถดูแล้วเข้าใจง่าย
9. Brochure 
   Brochure มาเป็นตัวกระจายสินค้า ใน Brochure ก็มีการนำเอารายละเอียดสินค้าของทางร้าน การบริการ หรืออาจจะบอกที่อยู่ของทางร้าน เพื่อง่ายต่อการเดินทางมาซื้อขายสินค้าได้สะดวก
10. Pop-up 
   นำมาใช้ในการอธิบายคุณสมบัติของสินค้าแต่ละตัวเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้นก่อนการซื้อสินค้า
11.  Forwordmaill 
     ทำการ Forwormaill ข้อมูลทางร้านส่งต่อไปเรื่อยๆ
12.  Cable TV 
     ทำเป็นรายการแนะนำสินค้าของทางร้าน
13. Videoclip 
     ใช้ถ่ายระบบการบริการของทางร้าน  ถ่ายสินค้าในร้านว่ามีอะไรบ้าง และถือเป็นการโปรโมทร้านไปในตัว
14.  Blogger 
    นำรายละเอียดของสินค้ามาใส่ใน Blogger เพื่อเป็นตัวช่วยการตัดสินใจในการซื้อสินค้า และมีการอัฟเดตข้อมูลสินค้าของทางร้านอยู่ตลอดเวลา

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีทางการผลิต

เทคโนโลยีทางการผลิต

O’brienได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการผลิต หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนหน้าที่งานด้านการผลิตและดำเนินงาน ตลอดตนกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผน การควบคุมกระบวนการผลิตและการจัดระบบการผลิตของธุรกิจ โดยจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลธุรกรรมด้านการผลิตและดำเนินงาน
Laudon and Laudonได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการผลิต หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมด้านการผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น การวางแผนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการผลิตในส่วนของการจัดหา การจัดเก็บ และการดำรงวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งสามารถจำแนกระบบย่อยออกเป็น 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ระบบในกลยุทธ์ มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการผลิตในระยะยาว
ประเภทที่ 2 ระบบในระดับบริหารหรือกลวิธี มีความเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และติดตามดูแลต้นทุนและทรัพยากรการผลิต
ประเภทที่ 3 ระบบในระดับปฏิบัติการ มีความเกี่ยวข้องกับงานขั้นพื้นฐานของการผลิต

การจัดการการผลิตและดำเนินงาน
การผลิตและดำเนินงาน คือ กิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การ ซึ่งถือเป็นกระบวนการการสร้างมูลค่าให้กับการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่า ส่งตรงถึงมือลูกค้าหรือบริโภค และมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านการตลาด อีกทั้งยังมีการตอบสนองเป้าหมายสำคัญทางการผลิต
1. แนวคิดและความหมาย
การผลิตและดำเนินงาน คือ การนำทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งด้านแรงงาน เงินทุน เครื่องจักร เทคโนโลยี วิธีการ วัตถุดิบ ความต้องการของตลาด การจัดการและเวลา ซึ่งรวมเรียกว่า ปัจจัยการผลิต
กระบวนการผลิต คือ กิจกรรมการแปรรูป และเพิ่มมูลค่าให้กับปัจจัยการผลิต เพื่อเข้าสู่รูปแบบของสินค้าหรือบริการซึ่งพร้อมส่งมอบให้ลูกค้า และในแต่ละกระบวนการผลิตจะประกอบด้วยกระบวนการผลิตย่อยหลายกระบวนการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์
จากทั้ง 2 ความหมาย กระบวนการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตและดำเนินงาน เพราะปัจจัยการผลิต คือ สิ่งรับเข้า กระบวนการผลิต คือ การประมวลผล และผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งส่งออก ซึ่งสื่อถึงความหมายของกระบวนการผลิต
2. วิวัฒนาการผลิต
ในระยะเริ่มต้น ธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการผลิตบนพื้นฐานการผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง ซึ่งมีจุดเน้นด้านการผลิตสินค้าปริมาณมากและขายสินค้าผ่านเครือข่ายของช่องทางการตลาดหลากหลานรูปแบบ ในเวลาต่อมาจึงได้เปลี่ยนวิธีการผลิตโดยนำแนวคิดของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีมาใช้ และใช้วิธีการผลิตแบบตามคำสั่ง หรือวิธีการประกอบสินค้าตามคำสั่ง เพื่อรองรับงานด้านการเปลี่ยนแปลงคำสั่งผลิตจากลูกค้าที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
3. กลยุทธ์การผลิตและดำเนินงาน
กลยุทธ์ที่ 1 การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง เพื่อเก็บสินค้าคงคลังที่พร้อมส่งมอบให้แก่ลูกค้าทันที เหมาะกับการผลิตสินค้ามาตรฐานที่มีการผลิตในปริมาณมาก ธุรกิจจะต้องมีการพยากรณ์การขายได้อย่างแม่นยำ
กลยุทธ์ที่ 2 การผลิตตามคำสั่ง เป็นการผลิตตามความต้องการของลูกค้าโดยผลิตเป็นล็อตในปริมาณน้อย และมีความยืดหยุ่นสูงในการปฏิบัติหน้าที่
กลยุทธ์ที่ 3 การประกอบสินค้าตามคำสั่ง เป็นการประกอบชิ้นส่วนมาตรฐานตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ในคำสั่งซื้อของลูกค้า และนำมาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน
4.หน้าที่ทางการผลิตและดำเนินงาน
จัดแบ่งหน้าที่เป็น 2 ด้าน คือ หน้าที่ด้านการผลิต ซึ่งเน้นความพึงพอใจของลูกค้าในสินค้าหรือบริการของธุรกิจเป็นหลัก และอีกหน้าที่หนึ่ง คือ หน้าที่ด้านโรงงาน ซึ่งเน้นความสามารถด้านการรองรับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยจัดแบ่งหน้าที่การผลิตได้ ดังนี้
4.1 การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยหาคำตอบว่าจะผลิตอะไร จำนวนเท่าไร ผลิตอย่างไร
4.2 การออกแบบกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค้า
4.3 การวางแผนทำเลที่ตั้งโรงงาน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการผลิตในส่วนลดต้นทุน กานขนส่ง และการรักษาคุณภาพของวัสดุ
4.4. การวางแผนการผลิตและดำเนินงาน เพื่อระบุวันผลิตและส่งมอบสินค้า
4.5 การจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือ โดยเลือกระบบการจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือที่ดี มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจัดการงานระหว่างทำ
4.6 การควบคุมคุณภาพสินค้า ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4.7 การลดต้นทุนการผลิต โดยทำการค้นหาวิธีการ หรือแนวคิดใด ๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายของการลดต้นทุนการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีผลต่อธุรกิจ
4.8 การขจัดความสูญเปล่า โดยจะต้องออกแบบและดำเนินการตามาตรการที่จะลดความสูญเปล่าในโรงงานหรือในการดำเนินงานของธุรกิจ เช่น การลดระดับสินค้าคงคลังหรือวัสดุคงคลัง
4.9 ความปลอดภัยในโรงงาน โดยสร้างระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงาน ซึ่งสามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้ เช่น ISO 14000 และ ISO 18000 เป็นต้น
4.10 การเพิ่มผลิตภาพทางการผลิต โดยการแสวงหาวิธีการเพิ่มผลผลิตในโรงงาน รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจใช้วิธีการขจัดความสูญเปล่าเข้าช่วย
4.11 การบำรุงรักษา โดยมีการบำรุงรักษาการแปรรูปผลผลิตให้คงไว้
4.12 การประสานงานกับหน่วยงานอื่น เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันกับหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์การ ปัจจุบัน ได้มีการนำแนวคิดด้านการจัดการโซ่อุปทานมาใช้ เพื่อธุรกิจสามารถผลิตสินค้าหรือบริการได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
5. การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
ฐาปนา บุญหล้า ได้นิยามความหมายของ การจัดการโซ่อุปทานและการจัดการโลจิสติกส์ ไว้ดังนี้
การจัดการโซ่อุปทาน หมายถึง การกำหนดกระบวนการบูรณาการด้านการวางแผน การจัดหา การผลิต การจัดส่ง และการคืนสินค้า โดนเริ่มตั้งแต่ผู้ขายทุกระดับจนถึงผู้ซื้อทุกระดับ ตลอดจนวางแผนแนวทางด้านกลยุทธ์การปฏิบัติการขององค์การ การจัดการโลจิสติกส์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน คือ การวางแผน การปฏิบัติการและการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นประสิทธิผลการไหลของสินค้า การจัดเก็บสินค้า การบริการและสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
6. ระบบการผลิตยุคใหม่
6.1 ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีคือ แนวคิดทางการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นของระบบการผลิตแบบโตโยต้า หลักสำคัญ คือ ผลิตในจำนวนเท่าที่ต้องการและมีการควบคุมสินค้าคงเหลือให้เหลือน้อยที่สุด โครงสร้างของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี มีดังนี้
6.1.1 กรรมวิธีการผลิต 3 ประการ คือ
1. การปรับเรียบการผลิต คือ การผลิตเป็นล็อตเล็ก ๆ
2. การออกแบบวิธีการและเครื่องมือการผลิต
3.สร้างมาตรฐานงาน และควบคุมให้เสร็จตามเวลามาตรฐาน ณ รอบการผลิตหนึ่ง
6.1.2 ระบบข้อมูลผลิต มีการนำแผ่นป้ายกำบังมาใช้สำหรับการสื่อสาร ระหว่างหน้าที่งานภายในโรงงาน ดังนั้น ทุก ๆ กระบวนการผลิตจึงใช้อัตราความเร็วของงานเท่ากันและใช้ระบบดึง คือ หน่วยงานหลังดึงชิ้นงานจากหน่วยงานหน้าเพื่อนำมาประกอบต่อ ส่วนหน่วยงานหน้าจะผลิตชิ้นส่วนทดแทนในจำนวนเท่ากับจำนวนชิ้นงานที่ถูกดึงไป ในส่วนผลที่ได้รับในการประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี คือ การเพิ่มคุณภาพสินค้าและลดของเสียระหว่างการผลิตให้น้อยลง
6.2 ระบบการผลิตแบบลีนเป็นระบบการผลิตที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ทำให้เกิดมาตรฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง และมุ่งขจัดความสูญเปล่า ทั้งด้านคุณภาพ ราคา การจัดส่งสินค้าและการบริการแก่ลูกค้า นิพนธ์ บัวแก้ว ได้ระบุหลักการของลีน 5ข้อ ดังนี้
6.2.1 การระบุคุณค่าของสินค้าและบริการ โดยอาจใช้วิธีการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของธุรกิจกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งภายใต้มุมมองของลูกค้า
6.2.2 การแสดงสายธารคุณค่า โดยมีการจัดทำผังแห่งคุณค่าซึ่งระบุถึงกิจกรรมที่ต้องทำ
6.2.3 การทำให้เกิดการไหลของคุณค่าอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นที่จะให้สายการผลิตสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสม่ำเสมอ โดยปราศจากอุปสรรคขัดขวาง โดยใช้หลักการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง
6.2.4 การให้ลูกค้าเป็นผู้ดึงคุณค่าจากกระบวนการ คือ จะทำการผลิตก่อต่อเมื่อลูกค้าเกิดความต้องการสินค้านั้น และในปริมาณที่ลูกค้าต้องการ
6.2.5 การสร้างคุณค่า และกำจัดความสูญเปล่าอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นด้านการเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนค้นพบความสูญเปล่าและขจัดให้หมดไป
สารสนเทศทางการผลิต
1. แนวคิดและความหมาย
สารสนเทศทางการผลิต คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการผลิต ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ
2. การจำแนกประเภท
2.1 สารสนเทศเชิงปฏิบัติการคือ สารสนเทศที่ได้จากการดำเนินการผลิต
2.1.1 สารสนเทศด้านการดำเนินการผลิต
2.1.2 สารสนเทศด้านควบคุมคุณภาพ
2.1.3 สารสนเทศด้านการแก้ปัญหา
2.2 สารสนเทศเชิงบริหารคือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการวางแผนและจัดการผลิต
2.2.1 สารสนเทศด้านการออกแบบการผลิต
2.2.2 สารสนเทศด้านการวางแผนการผลิต
2.2.3 สารสนเทศด้านการจัดการโลจิสติกส์
2.2.4 สารสนเทศด้านการควบคุมการผลิต
2.3 สารสนเทศภายนอกองค์การคือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากภายนอกองค์การ
2.3.1 สารสนเทศด้านผู้ขายวัสดุ 
2.3.2 สารสนเทศด้านผู้ขนส่งวัสดุ 

กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
1. ระบบออกแบบการผลิตคือระบบที่มุ่งเน้นถึงหน้าที่ด้านการออกแบบในส่วนของผลิตภัณฑ์และระบบการผลิต
1.1 การออกแบบผลิตภัณฑ์คือ การกำหนดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ทั้งในส่วนของการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น และสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อค้นหาความต้องการของลูกค้า และพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการชองลูกค้า
1.2 การออกแบบระบบการผลิตมุ่งเน้นถึงการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณค่าของผลผลิต เพื่อการสนองตอบกลยุทธ์ด้านความพึงพอใจของลูกค้าในระยะยาว
2. ระบบวางแผนการผลิต
2.1 การวางแผนการผลิตรวมคือ การวางแผนอัตราการผลิต ปริมาณแรงงาน และการจัดเก็บคลังสินค้า โดยพิจารณาจากอุปสงค์ หรือความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งหากเป็นแผนการผลิตรวมของธุรกิจบริการมักเรียกว่า แผนพนักงาน
2.2. การจัดตารางการผลิตเป็นการวางแผนระยะสั้นที่สอดคล้องกับแผนการผลิตรวม โดยคำนึงถึงการใช้กำลังการผลิตอย่างคุ้มค่าภายใต้ข้อจำกัดในการผลิต ซึ่ทำให้ธุรกิจทราบถึงปริมาณงานการผลิตในแต่ละสัปดาห์
2.3 การวางแผนความต้องการวัสดุคือ การจัดการวัสดุคงคลัง ที่ความต้องการวัสดุนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการวัสดุอื่นที่มีความเกี่ยวข้อง รวมทั้งตารางการขนส่งวัตถุดิบ
2.4 การวางแผนทรัพยากรการผลิตโดยมุ่งเน้นการจัดสรรทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง เช่น วัสดุ แรงงาน และค่าใช้จ่ายโรงงาน
3. ระบบจัดการโลจิสติกส์
3.1 โลจิสติกส์ขาเข้าคือ องค์การผู้ซื้อวัสดุและองค์การผู้ขายวัสดุ ซึ่งใช้สนับสนุนกิจกรรมภายในโซ่คุณค่าขององค์การในส่วนต่าง ๆ ดังนี้
3.1.1 การจัดหาวัสดุ
3.1.2 การตรวจรับวัสดุ
3.1.3 การควบคุมวัสดุ
3.2 การจัดการสินค้าคงเหลือคือ การกำหนดถึงปริมาณของสินค้าคงเหลือ อาจอยู่ในลักษณะของวัสดุหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ชิ้นส่วนการผลิต งานระหว่างทำ ตลอดจนสินค้าสำเร็จรูป
4. ระบบดำเนินงานการผลิตมุ่งเน้นถึงการผลิตามกระบวนการผลิตและตามแผนการผลิตในส่วนต่าง ๆ ที่วางไว้ นอกจากนี้ ระบบดำเนินการผลิตในปัจจุบัน ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหลากหลายรูปแบบ สำหรับช่วยสนับสนุนกิจกรรมของระบบการดำเนินการผลิตในส่วนต่าง ๆ เช่น การคอมพิวเตอร์ช่วยผลิต การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์ และการผลิตแบบยืดหยุ่น
5. ระบบควบคุมการผลิตจะเน้นถึงการควบคุมให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยใช้สารสนเทศทางการผลิตบางส่วน เช่น คำสั่งซื้อของลูกค้า รวมทั้งสถานภาพทางการผลิตของแต่ละสถานีการผลิต เพื่อตรวจสอบดูความก้าวหน้าของการผลิตให้เป็นไปตามแผนมากที่สุด
5.1 การควบคุมปฏิบัติการการผลิต
5.2 การควบคุมคุณภาพ
5.3 การควบคุมต้นทุน
5.4 การบำรุงรักษา

เทคโนโลยีทางการผลิต
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการผลิตมี 10 ข้อ คือ
1. โปรแกรมสำเร็จรูปทางการผลิต
2. การใช้หุ่นยนต์
3. การใช้รหัสแท่ง
4. การใช้อินเตอร์เน็ต
5. การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
6. การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
7. ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น
8. การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์ 
9. ระบบบูรณาการทางการผลิต 
10. ระบบสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา http://kayfreedomman.blogspot.com/2012/09/6_28.html

การจัดการโลจิสติกส์

การจัดการโลจิสติกส์
           การบริหารการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) หมายถึง กระบวนการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการ การควบคุม และการควบคุมการทำงานขององค์กร รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูล และธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวมและการกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ และการบริการให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ทั้งนี้ในปัจจุบันถือว่าการบริหารจัดการโลจิสติกส์เป็นกระบวนการย่อยหนึ่งในการจัดการสินค้าและบริการตลอดสายของโซ่อุปทาน
         โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ เป็นระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการผสมผสานของ ข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่
          “Logistics หมายถึง กิจกรรมหรือการกระทำใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ รวมถึงการเคลื่อนย้าย , จัดเก็บ และกระจายสินค้า จากแหล่งที่ผลิต (Source of Origin) จนสินค้าได้มีการส่งมอบไปถึงแหล่งที่มีความต้องการ (Source of Consumption) โดยกิจกรรมดังกล่าว จะต้องมีลักษณะเป็นกระบวนการแบบบูรณาการ โดยเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีเป้าหมายในการส่งมอบแบบทันเวลา (Just in Time) และเพื่อลดต้นทุน โดยมุ่งให้เกิดความพอใจแก่ลูกค้า (Customers Satisfaction) และส่งเสริมเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ ทั้งนี้ กระบวนการต่างๆของระบบ Logistics จะต้องมีลักษณะปฏิสัมพันธ์ที่สอดคล้องประสานกัน ในอันที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน”

เป้าหมายที่สำคัญของ Logistics
1)    ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า (Speed Delivery)
2)    การไหลลื่นของสินค้า (Physical Flow)
3)    การไหลลื่นของข้อมูลข่าวสาร (Information Flow)
4)    การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของตลาด (Market Demand)
5)    ลดต้นทุนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าและการดูแลและขนส่งสินค้า (Cargoes Handling & Carriage Cost)
6)    เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของการแข่งขัน (Core Competitiveness)

กิจกรรมที่สำคัญของโลจิสติกส์
1.    Order management/Customer service คือ การจัดการการรับหรือส่งสินค้า และ การบริการลูกค้า
2.    Packaging คือ การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อมาใช้บรรจุสินค้า
3.    Material handling คือ การขนถ่ายวัสดุภายในโรงงาน หรือ ในคลังสินค้า
4.    Transportations/Mode of transportations (Domestic & International) คือ การขนส่งสินค้าระหว่างสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
5.    Warehouse management (Layout, locations, control technology/equipment, facility) คือ การจัดการคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการวางผังสินค้า หรือ สถานที่ ที่จะตั้งคลังสินค้า
6.    Inventory control systems (Qty)/ material management คือ ระบบในการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนหรือกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.    Supplier management/material management คือ การบริหารจัดการผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา(Supplier) เพื่อให้ได้ วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และ เพียงพอต่อความต้องการในเวลาที่เหมาะสม
8.    Distribution center/distribution hub คือ การกำหนดแหล่งที่ตั้งในการกระจายสินค้า เพื่อให้เกิดการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง
9.    Manufacturing/production control คือ ระบบควบคุมการผลิต
ที่มา http://www.logisticafe.com/2009/09/logistics-management/

ระบบสารสนเทศทางการผลิต

ระบบสารสนเทศทางการผลิต หมายถึง  ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนหน้าที่งานด้านการผลิตและการดำเนินงาน  ตลอดจนกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผน  การควบคุมกระบวนการผลิตและการจัดระบบการผลิตของธุรกิจ  โดยจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลธุรกรรมด้านการผลิตและการดำเนินงาน
การจัดการผลิตและดำเนินงาน
   การผลิตและการดำเนินงาน  คือ  กิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การซึ่งถือเป็นกระบวนการสร้างมูลค่าให้กับการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่า ส่งตรงถึงมือลูกค้าหรือผู้บริโภค และมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านการตลาดเป็นไปอย่างราบรื่น
    กระบวนการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตและดำเนินงานเพราะปัจจัยการผลิต  คือ  สิ่งรับเข้า กระบวนการผลิต คือ การประมวลผล และผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งส่งออก ซึ่งสื่อถึงความหมายของระบบการผลิตนั่นเอง  หากปัจจัยการผลิตของธุรกิจประกอบด้วย  ทรัพยากรมนุษย์ทางด้านแรงงานและด้านบริหาร  สินทรัพย์ประเภททุน  ก็ยังมีสิ่งนำเข้ากระบวนการผลิตอื่นที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของธุรกิจ คือ ความคิดเห็นของลูกค้าภายในละภายนอกองค์การตลอดจนสารสนเทศด้านผลการประกอบการขององค์การ
วิวัฒนาการการผลิต
  ในระยะเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรมธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการผลิตบนพื้นฐานการผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง เน้นด้านการผลิตสินค้าปริมาณมากและขายสินค้าผ่านเครือข่ายของช่องทางการตลาดหลากหลายรูปแบบ  เวลาต่อมาจึงได้เปลี่ยนวิธีการผลิตโดยการนำแนวคิดของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีมาใช้และใช้วิธีการผลิตตามคำสั่งหรือวิธีการประกอบสินค้าตามคำสั่ง  มาแทนที่การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง
กลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงาน
    จะเน้นถึงความต้องการของลูกค้าที่สะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายระยะยาวขององค์การ  อาศัยความร่วมมือจากแผนกการตลาดและการผลิตที่จะทำการค้นหาความต้องการของลูกค้าละนำมากำหนดเป็นความได้เปรียบทางการผลิต  การผลิตตามความต้องการของลูกค้าและปริมาณการผลิตมีความยืดหยุ่น  ซึ่งริทซ์แมนและกาจิวสกีจำแนกกลยุทธ์การผลิตเป็น  3 กลยุทธ์ ดังนี้
1.              การเก็บเป็นสินค้าคงคลัง ธุรกิจมักจะมีการผลิตสินค้าเพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลังที่พร้อมส่งมอบแก่ลูกค้าทันที  เหมาะกับการผลิตสินค้ามาตรฐานที่มีการผลิตในปริมาณมาก
2.              การผลิตตามคำสั่ง เป็นการผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าโดยผลิตเป็นล็อต ในปริมาณน้อยการออกแบบกระบวนการผลิตแต่ละครั้งจะขึ้นกับความต้องการของลูกค้า
3.              การประกอบสินค้าตามคำสั่ง เป็นการประกอบชิ้นส่วนมาตรฐานตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ในคำสั่งซื้อของลูกค้า และนำมาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน
หน้าที่ทางการผลิตและดำเนินงาน
       นับเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ  ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆที่ก่อเกิดผลผลิตในรูปแบบของสินค้าหรือบริการ และจัดแบ่งหน้าที่เป็น 2 ด้าน คือ หน้าที่ด้านการผลิต เน้นความพึงพอใจของลูกค้าหรือบริการของธุรกิจเป็นหลัก  โดยจัดแบ่งหน้าที่การผลิตดังนี้
1.              การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์  เพื่อช่วยหาคำตอบว่าจะผลิตอะไร จำนวนเท่าใด ผลิตอย่างไร เกิดความต้องการผลิตสินค้าและบริการเมื่อใด
2.              การออกแบบกระบวนการผลิต เพื่อได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค้าและมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
3.              การวางแผนทำเลที่ตั้งโรงงาน  เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการผลิตในส่วนลดต้นทุนการขนส่ง  และรักษาคุณภาพของวัสดุระหว่างการขนส่ง
4.              การวางแผนการผลิตและดำเนินงาน  โดยทำการวางแผนกำลังการผลิต การจัดสรรทรัพยากรการผลิตและการจัดตารางการผลิต เพื่อระบุวันเริ่มผลิตและส่งมอบสินค้า
5.              การจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือ  โดยเลือกใช้ระบบการจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือที่ดี มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจัดการงานระหว่างทำ ซึ่งก็คือสินค้าที่ยังผลิตไม่เสร็จและจะต้องทำการผลิตต่อ โดยโดยเลือกใช้เทคโนโลยีในช่วยในการจัดการ
6.              การควบคุมคุณภาพสินค้า  โดยทำการควบคุมและรักษาระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้
7.              การลดต้นทุนการผลิต โดยทำการค้นหาวิธี  หรือแนวคิดใดๆซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายของการลดต้นทุนการผลิตสินค้าหรือบริการ
8.              การขจัดความสูญเปล่าเป็นแนวคิดหนึ่งของระบบการผลิตสมัยใหม่ที่นำมาใช้อย่างได้ผลในปัจจุบัน  โดยจะต้องออกแบบและดำเนินการตามมาตรการที่ลดความสูญเปล่าในโรงงาน
9.              ความปลอดภัยในโรงงาน โยสร้างระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงานซึ่งสามารถช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในโรงงาน เช่น   ISO  14000
10.       การเพิ่มผลผลิตทางการผลิต  โดยการแสวงหาวิธีการเพิ่มผลผลิตในโรงงาน  รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์อีกด้วย ซึ่งอาจใช้วิธีขจัดความสูญเปล่าเข้าช่วย
11.       การบำรุงรักษา  โดยมีการบำรุงรักษาระบบการแปรรูปผลผลิตให้คงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ  การดำเนินงานและความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง โดยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการผลิตหรือให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส
12.       การประสานงานกับหน่วยงานอื่น  คือ  หน้าที่ของฝ่ายผลิตที่จะต้องประสานงานกับฝ่ายตลาด ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ตลอดจนผู้ขายวัตถุดิบ เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ
การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
    การจัดการโซ่อุปทาน  หมายถึง  การกำหนดกระบวนการบูรณาการด้านการวางแผน การจัดหา การผลิต การจัดส่ง  และการค้นคืนสินค้า โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ขายทุกระดับจนถึงผู้ซื้อทุกระดับ
    การจัดการโลจิสติกส์  ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน  คือ  การวางแผน  การปฏิบัติการและการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นถึงประสิทธิผลของการไหลของสินค้า  การจัดเก็บสินค้า  การบริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงจุดบริโภค  เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ความแตกต่างของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  คือ ในส่วนของขอบเขตการดำเนินงาน การจัดการโลจิสติกส์จะครอบคลุมเฉพาะภายในองค์การ  แต่การจัดการโซ่อุปทานจะเป็นการบูรณาการงานที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์ทั้งภายในและภายนอกองค์การเข้าด้วยกัน
ระบบการผลิตยุคใหม่  ปัจจุบันมี  2ระบบ  คือ
1.    ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี  คือ  แนวคิดทางการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตแบบโตโยต้า  ซึ่งยึดหลักการสำคัญ   คือ ผลิตในจำนวนเท่าที่ต้องการในเวลาที่ต้องการและมีการควบคุมสินค้าคงเหลือให้เหลือน้อยที่สุด    โครงสร้างของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี  มีดังนี้
1.1       กรรมวิธีการผลิต  3   ประการ  คือ
1.                การปรับเรียบการผลิต  หมายถึง  ทำการผลิตเป็นล็อตเล็กๆ เพื่อสามารถตรวจสอบข้อบกพร่องและคุณภาพของผลผลิตได้ง่ายขึ้นสามารถตังเครื่องจักรได้อย่างรวดเร็วในการเปลี่ยนรุ่นและแบบของผลิตภัณฑ์ในแต่ละครั้ง
2.                การออกแบบวิธีการและเครื่องมือการผลิต ให้พนักงานคนหนึ่งสามารถทำได้ลายหน้าที่
3.                สร้างมาตรฐานของงานและควบคุมให้เสร็จตามเวลามาตรฐาน  ณ  รอบการผลิต
1.2       ระบบข้อมูลผลิต มีการนำแผ่นป้ายกันบังมาใช้สำหรับการสื่อสารการผลิต ระหว่างหน้าที่งานภายในโรงงาน
2.    ระบบการผลิตแบบลีน  เป็นระบบการผลิตที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าทำเกิดมาตรฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง  และมุ่งขจัดความสูญเปล่าอันสืบเนื่องมาจากทั้งด้านคุณภาพ  ราคา  การจัดส่งสินค้าและบริการแก่ลูกค้า   หลักการของระบบลีนมี 5 ข้อ ดังนี้
2.1       การระบุคุณค่าของสินค้าและบริการ  โดยมีการชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะใช้วิธีการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของธุรกิจกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง
2.2       การแสดงสายธารคุณค่า โดยมีการจัดทำผังแห่งคุณค่า ซึ่งจะระบุถึงกิจกรรมที่ต้องกระทำทั้งหมด  ตั้งแต่รับวัสดุเข้าโรงงาน จนกระทั่งมีการส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้า
2.3       การทำให้เกดการไหลของคุณค่าอย่างต่อเนื่อง  คือ การมุ่งเน้นที่จะทำให้สายการผลิตสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาโดยปราศจากอุปสรรคขัดขวาง  โดยใช้หลักการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง
2.4       การให้ลูกค้าเป็นผู้ดึงคุณค่าจากกระบวนการ คือ จะทำการผลิตก็ต่อเมื่อลูกค้าเกิดความต้องการสินค้านั้น  และผลิตในปริมาณเท่าที่ลูกค้าต้องการ  จึงมีความสอดคล้องกับระบบการผลิตตามสั่ง
2.5       การสร้างคุณค่าและขจัดความสูญเปล่าอย่างต่อเนื่อง  เป็นความพยายามของหน่วยผลิต ที่มุ่งมั่นด้านการเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนมีการค้นพบความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นระหว่างผลิตและกำจัดความสูญเปล่านั้นให้มดสิ้นไป
สารสนเทศทางการผลิต
สารสนเทศทางการผลิต คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการผลิต ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ
การจำแนกประเภท
สารสนเทศสามารถจำแนกประเภทได้  3  ประเภท ดังนี้
1.    สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการดำเนินงานการผลิตในส่วนต่างๆ ดังนี้
1.1       สารสนเทศด้านการดำเนินการผลิต ครอบคลุมถึงสารสนเทศด้านการปฏิบัติการผลิตประจำวัน  ต้นทุนการผลิต  สินค้าสำเร็จรูป  และงานระหว่างทำ
1.2       สารสนเทศด้านควบคุมคุณภาพ  คือ  สารสนเทศที่ระบุถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซึ่งถือเป็นหัวใจของการผลิต  ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างผลผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
1.3       สารสนเทศด้านการแก้ปัญหา คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้นพบสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงการผลิต ซึ่ง อาจจะต้องใช้เวลาและต้นทุนการค้นพบที่มีมูลค่าสูง   รวมทั้งมีการใช้อุปกรณ์พิเศษ
2.    สารสนเทศเชิงบริหาร  คือ  สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการวางแผนและจัดการผลิต  ดังนี้
2.1       สารสนเทศด้านออกแบบการผลิต คือ สารสนเทศที่ได้จากการปฏิบัติการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์  การออกแบบกระบวนการผลิต และระบบการผลิตตาความต้องการของลูกค้า ตลอดจนการออกแบบผังโรงงาน เพื่อดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่นตามเป้าหมายที่วางไว้
2.2       สารสนเทศด้านวางแผนการผลิต  คือ สารสนเทศที่ได้จากการวางแผนการผลิตด้านต่างๆ
2.3       สารสนเทศด้านการจัดการโลจิสติกส์  คือ  สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการจัดหาและการขนส่งวัสดุเข้าโรงงานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผลิต  ตลอดจนการจัดเก็บและควบคุมสินค้าคงเหลือ
2.4       สารสนเทศด้านควบคุมการผลิต คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานด้านการควบคุมกระบวนการผลิต  การควบคุมต้นทุนการผลิต รวมทั้งด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน
3.    สารสนเทศภายนอกองค์การ  คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ  ซึ่งจำแนกได้เป็น  2  ประเภท คือ
3.1       สารสนเทศด้านผู้ขายวัสดุ คือ สารสนเทศที่ได้จากผู้ขายวัสดุ ภายในเครือข่ายด้านโซ่อุปทานขององค์การ
3.2       สารสนเทศด้านผู้ขนส่งวัสดุ คือ สารสนเทศที่ได้จากผู้ให้บริการขนส่งวัสดุ
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ   มี 5 ระบบ ดังนี้
1.              ระบบออกแบบการผลิต
หน้าที่งานสำคัญของการผลิต คือ จะต้องมีการออกแบบการผลิตในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนเริ่มงานด้านการวางแผนและการดำเนินการผลิต ซึ่งระบบการออกแบบการผลิต คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงหน้าที่ด้านการออกแบบในส่วนของผลิตภัณฑ์และระบบการผลิต  โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่ดี มีประสิทธิภาพ ซึ่งจำแนกระบบออกแบบการผลิตได้เป็น  2  กระบวนการ ดังนี้
1.1       การออกแบบผลิตภัณฑ์  คือ การกำหนดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ทั้งในส่วนของการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น และการสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของฝ่ายการตลาดในการดำเนินการวิจัยการตลาด
1.2       การออกแบบระบบการผลิต   ระบบการผลิตหนึ่งๆจะประกอบด้วยส่วนประกอบที่สัมพันธ์กัน  เช่น สภาพแวดล้อม ปัจจัยการผลิต
2.              ระบบวางแผนการผลิต   อาศัยวิธีการวางแผนการผลิตและมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตช่วยสนับสนุนหน้าที่งานส่วนต่างๆ ดังนี้
2.1       การวางแผนการผลิตรวม  คือ การวางแผนอัตราการผลิต  ปริมาณแรงงานและการจัดเก็บสินค้าคงคลัง  โดยพิจารณาจากอุปสงค์หรือความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
2.2       การจัดตารางการผลิต  เป็นการวางแผนระยะสั้นที่สอดคล้องกับแผนการผลิตรวมโดยคำนึงถึงการใช้กำลังการผลิตอย่างคุ้มค่าภายใต้ข้อจำกัดในการผลิต  ซึ่งจะทำธุรกิจทราบถึงปริมาณงานผลิตในแต่ละสัปดาห์
2.3       การวางแผนความต้องการวัสดุ  คือ การจัดการวัสดุคงคลัง  ที่ความต้องการวัสดุนั้นขึ้นกับความต้องการวัสดุอื่นที่มีความเกี่ยวข้อง
2.4       การวางแผนทรัพยากรการผลิต  เนื่องจากปัจจุบันมีการดำเนินการผลิตที่ซับซ้อนขึ้น   โดยเฉพาะในส่วนการผลิตสินค้าหลายๆรูปแบบตามความต้องการของลูกค้า
3.              ระบบจัดการโลจิสติกส์    ระบบจัดการโลจิสติกส์ด้านการผลิต มี 2 ส่วนงาน คือ
3.1 โลจิสติกส์ขาเข้า   มักเกี่ยวข้องกับธุรกิจระหว่างองค์การ  คือ องค์การผู้ซื้อวัสดุ   และองค์การผู้ขายวัสดุ  ซึ่ง   ใช้สนับสนุกิจกรรมภายในโซ่คุณค่าขององค์การ
3.2 การจัดการสินค้าคงเหลือ  คือ การกำหนดถึงปริมาณของสินค้าคงเหลือ  ซึ่งถูกจัดเก็บในคลังสินค้า  ซึ่งสินค้าคงเหลือนี้อาจอยู่ในลักษณะของวัสดุหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
4.  ระบบดำเนินงานการผลิต  ธุรกิจได้ทำการออกแบบการผลิต  วางแผนการผลิต  รวมทั้งมีการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตแล้ว  ในขั้นต่อมาจะเป็นการดำเนินการผลิตสินค้า  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการการผลิตและดำเนินงาน  ที่มุ่งเน้นถึงการผลิตตามกระบวนการผลิตและตามแผนการผลิตต่างๆในส่วนการผลิตที่วางไว้
5. ระบบควบคุมการผลิต  จะเน้นถึงการควบคุมให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้โดยใช้สารสนเทศทางการผลิตบางส่วน  ระบบควบคุมการผลิตมีส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
5.1 การควบคุมปฏิบัติการการผลิต   การผลิตภายในโรงงานมีการใช้ระบบสารสนเทศด้านการปฏิบัติการผลิตเพื่อติดตามร่องรอยการดำเนินงานการผลิตและการควบคุม
5.2  การควบคุมคุณภาพ  มีการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านควบคุมคุณภาพเพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของวัสดุและชิ้นส่วนที่จัดหามาได้
5.3 การควบคุมต้นทุน  ในการดำเนินการผลิตจะเกิดต้นทุนการผลิตหลัก คือ ต้นทุนค่าวัสดุ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายโรงงาน
5.4  การบำรุงรักษา คือ การซ่อมบำรุงเครื่องจักร  หรืออุปกรณ์การผลิตให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งาน  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่องในการทำงานและเป็นการรักษาความปลอดภัยในการทำงานด้วย
เทคโนโลยีทางการผลิต
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการผลิตมี 10 ข้อ คือ
1.    โปรแกรมสำเร็จรูปทางการผลิต
2.    การใช้หุ่นยนต์
3.    การใช้รหัสแท่ง
4.    การใช้อินเตอร์เน็ต
5.    การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
6.    การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
7.    ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น
8.    การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์
9.    ระบบบูรณาการทางการผลิต
10.  ระบบสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา http://jeawyai.blogspot.com/2011/08/6.html

กลยุทธ์ธุรกิจ

  กลยุทธ์คือแนวทางในการดำเนินงานที่ทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย หรือกลยุทธ์ คือ วิธีการในการแข่งขันที่จะทำให้องค์กรสามารถเอาชนะคู่แข่งได้ หรือกลยุทธ์ คือ แนวทางในการทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือบางท่านอาจจะบอกกลยุทธ์ประกอบด้วยคำถามที่สำคัญ 3 ข้อ ได้แก่ 1) ปัจจุบันเราอยู่ ณ จุดใด 2) เราต้องการไปถึงจุดใด 3) เราจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไรคือวิธีการหรือแนวทางที่องค์กรจะนำเสนอคุณค่า (Value) ให้กับลูกค้า เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ (ซึ่งอาจจะเป็นกำไรหรือวิสัยทัศน์)
     การนำแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในองค์กรนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการได้แก่ (1) การวิเคราะห์ (Strategic Analysis) (2) การจัดทำ (Strategic Formulation) และ (3) การปฏิบัติ (Strategic Implementation)
     เครื่องมือในการวิเคราะห์กลยุทธ์ ที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายได้แก่
       • การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด หรือที่นิยมเรียกกันว่า  SWOT Analysis
       • การวิเคราะห์ปัจจัย 5 ประการที่มีผลต่ออุตสาหกรรม หรือ 5 – Forces Analysis
       • การวิเคราะห์วงจรชีวิตอุตสาหกรรม หรือ Industry lifecycle
       • การวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จของอุตสาหกรรม หรือ Key  Success factors
       • การวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่า หรือ Value chain analysis
       • การวิเคราะห์คุณค่าหรือความต้องการของลูกค้า (Customer Analysis)
       • การวิเคราะห์คู่แข่งขัน (Competitor Analysis)
     ภายหลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์กลยุทธ์แล้ว องค์กรจะต้องมีการกำหนดหรือจัดทำกลยุทธ์ (Strategic Formulation) ซึ่งในอดีตนั้นเรามักจะรู้กันว่า
กลยุทธ์มีอยู่สามระดับได้แก่ 1) ระดับองค์กร (Corporate Strategy) 2) ระดับธุรกิจ (Business Strategy) และ 3) ระดับปฏิบัติการ (Functional Strategy) แต่เนื่องจากวิวัฒนาการในแนวคิดด้านกลยุทธ์ ทำให้ในปัจจุบันนักวิชาการด้านกลยุทธ์ได้มองว่ากลยุทธ์ควรจะมีแต่สองระดับ เท่านั้นคือระดับองค์กรและระดับธุรกิจ  ส่วนกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการนั้นไม่เข้าข่ายของความเป็นกลยุทธ์เนื่องจากไม่ ได้ก่อให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน และมีแนวโน้มที่จะเป็นแผนปฏิบัติการ (Action plan) มากกว่ากลยุทธ์ 
     กลยุทธ์ระดับองค์กรจะบอกให้รู้ถึงแนวทางหรือทิศทางในการดำเนินงานขององค์กร ว่าต้องการมุ่งเน้นที่จะขยายตัวหรือไม่ และถ้าต้องการที่จะขยายตัวจะขยายตัวในธุรกิจใด (Where to Compete) ในขณะที่กลยุทธ์ระดับธุรกิจจะบอกให้รู้ถึงวิธีการที่องค์กรใช้ในการแข่งขัน (How to Compete) ภายหลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์แล้ว ผู้บริหารสามารถที่จะกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กรได้โดยการตอบคำถามง่าย ๆ ไม่กี่คำถามดังนี้
     (1) องค์กรต้องการที่จะขยายตัว (Growth) คงตัว (Stable) หรือ หดตัว (Retrench) ส่วนใหญ่แล้วคำตอบที่มักจะได้รับจะหนีไม่พ้นการขยายตัว หรือผสมผสานระหว่างการขยายตัวและหดตัว (Combination)
     (2) ถ้าองค์กรต้องการที่จะขยายตัว องค์กรจะขยายตัวด้วยวิธีไหน
          • ขยายตัวในองค์กร (Internal Growth) เช่น การขายสาขา การเพิ่มสินค้าใหม่ หรือ การหาลูกค้าใหม่ เป็นต้น โดยการขยายตัวเหล่านี้จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการด้วยตนเอง
          • ขยายตัวจากภายนอกองค์กร (External Growth) โดยอาจจะเกิดขึ้นจากการเข้าไปร่วมกิจการกับองค์กรอื่น หรือการเข้าไปเป็นพันธมิตรร่วมกับองค์กรอื่น
     (3) ถ้าองค์กรต้องการที่จะต้องการขยายตัว องค์กรจะขยายตัวอย่างไร

          • ขยายตัวโดยใช้สินค้าและบริการเดิมที่องค์กรมีอยู่ในปัจจุบัน
          • ขยายตัวโดยสินค้าและบริการใหม่ ๆ
     (4) ถ้าองค์กรต้องการที่จะขยายตัว องค์กรจะขยายตัวไปในธุรกิจไหน?
          • ขยายตัวในธุรกิจเดิม
          • ขยายตัวในธุรกิจใหม่สัมพันธ์กับธุรกิจเดิม
          • ขยายตัวในธุรกิจใหม่ที่ไม่สัมพันธ์กับธุรกิจเดิม
     ความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าและตลาดมีดังนี้                      
          • ใช้สินค้าบริการเดิม ขยายตัวในอุตสาหกรรมเดิม (Old Product/ Old Market)
          • ใช้สินค้าและบริการเดิม ขยายตัวเข้าไปในอุตสาหกรรมใหม่ (Old Product/ New Market)
          • นำเสนอสินค้าและบริการใหม่ ขยายตัวในอุตสาหกรรมเดิม (New Product/ Old Market)
          • นำเสนอสินค้าและบริการใหม่ ขยายตัวเข้าไปในอุตสาหกรรมใหม่ (New Product/ New Market)
     สำหรับกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) หรือที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน (competitive strategy) หมายถึง วิธีการที่องค์กรจะใช้ในการแข่งขันเพื่อให้สามารถชนะคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม นั้น ๆ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากการกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Target customer) ให้ชัดเจนก่อนว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายขององค์การคือใครและมีความต้องการอะไร ส่วนใหญ่แล้วกลยุทธ์ธุรกิจมักจะเป็นไปตามแนวคิดของ Michael E. Porter ที่ระบุไว้ว่าองค์กรธุรกิจสามารถเลือกที่ใช้วิธีการในการแข่งขันโดยการเป็น ผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership Strategy) หรือการสร้างความแตกต่างในการแข่งขัน (Differentiation) ซึ่งองค์กรอาจมุ่งเน้นที่ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Focus customer) นอกเหนือจากกลยุทธ์ธุรกิจตามแนวคิดของ Porter แล้วองค์กรสามารถที่จะเลือกใช้กลยุทธ์ธุรกิจอื่นในลักษณะอื่นอีก เช่น การเป็นริเริ่มเป็นผู้นำ (First Mover) หรือการใช้กลยุทธ์เชิงรุก (Offensive Strategy) หรือกลยุทธ์โจมตีจุดอ่อนของคู่แข่งขัน ในการกำหนดกลยุทธ์ระดับธุรกิจหรือกลยุทธ์ในการแข่งขันนั้นสามารถจัดทำได้โดย ตอบคำถามต่าง ๆ ดังนี้
     (1) ใครคือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายขององค์กร (คำตอบนี้ได้มาจากการกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กร)
     (2) อะไรคือคุณค่าหรือสิ่งที่ลูกค้าในกลุ่มเป้าหมายนั้นต้องการจากสินค้าและบริการ
     (3) อะไรคือความแตกต่าง (Differentiation) ที่องค์กรจะนำเสนอให้กับลูกค้าเป้าหมาย
     กลยุทธ์องค์กรทำให้รู้ว่าว่าองค์กรมีทิศทางอย่างไรและไปในทิศทางไหน ส่วนกลยุทธ์ระดับธุรกิจจะบอกให้รู้ถึงวิธีการที่องค์กรจะใช้ในการแข่งขันกับ คู่แข่งขัน สำหรับความสัมพันธ์ระหว่าง
     กลยุทธ์ทั้งสองประการนั้น กลยุทธ์องค์กรจะบอกให้รู้ว่าองค์กรจะเข้าไปแข่งขันในอุตสาหกรรมใดด้วยสินค้า หรือบริการใด ซึ่งเมื่อองค์กรจะบอกให้รู้ว่าองค์กรจะเข้าไปแข่งขันในอุตสาหกรรมใดด้วย สินค้าหรือบริการใด ซึ่งเมื่อองค์กรตัดสินใจได้แล้ว ผู้บริหารสามารถใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจในการระบุถึงวิธีการที่องค์กรจะแข่งขัน ในอุตสาหกรรมนั้น